จรรยาบรรณว่าด้วยการประมงสากล

บริษัทในเครือ ซี แวลู (บริษัทยูนิคอร์ด จำกัด (มหาชน) และบริษัทไอ.เอส.เอ. แวลู จำกัด) ตระหนักถึงการทำธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม มุ่งมั่นที่จะส่งเสริมและสนับสนุนการอนุรักษ์ทรัพยากรและระบบนิเวศทางทะเล ตลอดจนมีการดำเนินธุรกิจโดยยึดถือหลักคุณธรรม ความถูกต้อง โปร่งใส เคารพต่อสิทธิมนุษยชนสากลและหลักการด้านแรงงาน ดังนั้น ทางบริษัทฯ จึงได้จัดทำจรรยาบรรณว่าด้วยการประมงสากลฉบับนี้ และมุ่งหวังที่จะให้คู่ค้าตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทานได้รับทราบ ยินยอมที่จะปฏิบัติตามเพื่อให้เกิดความยั่งยืนทั้งในปัจจุบันและอนาคต

แนวทางการปฏิบัติ
ด้านการประมงและความยั่งยืน

  1. บริษัทฯ เป็นสมาชิกของ สมาคมอุตสาหกรรมทูน่าไทย (Thai Tuna Industry Association : TTIA) ซึ่งมีความมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมและสนับสนุนให้สมาชิกมีการดำเนินธุรกิจอย่างถูกต้อง ปฏิบัติตามพระราชกำหนดการประมง กฎหมายระหว่างประเทศ และหลักการสากลต่างๆ ตลอดจนร่วมมือกับองค์กรระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องและเป็นที่ยอมรับด้านอุตสาหกรรมประมง เช่น องค์การบริหารจัดการประมงระดับภูมิภาค (Regional Fishery Management Organization : RFMOs) เพื่อเป็นการป้องกัน ยับยั้ง และขจัดการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (Illegal, Unreported and Unregulated Fishing: IUU Fishing) โดยมีหลักการดังนี้
    1.1 มีการรวบรวมหลักการทางวิชาการและข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่ได้รับการยืนยันจากองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) กรมประมงของประเทศไทย หรือสหภาพยุโรป เพื่อที่จะนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการปรับปรุงแก้ไขการจัดการแหล่งทรัพยากรทางทะเลของประเทศไทย
    1.2 มีการดำเนินงานภายใต้กฎระเบียบขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) และอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 (UNCLOS 1982)
    1.3 ปัญหาทั้งหมดที่เกี่ยวข้องในเรื่อง IUU จะต้องได้รับการแก้ไขภายใต้ความโปร่งใส มีหลักฐานการแก้ไขและสามารถตรวจสอบได้
    1.4 การสร้างความร่วมมือระหว่างกลุ่มประเทศที่สาม เป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้บรรลุวัตถุประสงค์กฎระเบียบ EU’s IUU เพื่อที่จะแก้ไขและฟื้นฟูแหล่งทรัพยากรประมง
  2. บริษัทฯ จะทำธุรกรรมกับผู้ขายหรือเรือประมงที่ได้รับอนุญาตโดยองค์การบริหารจัดการประมงระดับภูมิภาค (RFMOs) เรือประมงพื้นบ้าน ฟาร์มและสถานประกอบการที่ได้รับการขึ้นทะเบียนรับรอง ถูกต้องตามกฎหมายท้องถิ่น
  3. บริษัทฯ เป็นสมาชิกของมูลนิธิเพื่อความยั่งยืนของอาหารทะเลสากล (International Seafood Sustainability Foundation: ISSF) และมีการปฏิบัติตามมาตรการอนุรักษ์เพื่อให้เกิดความยั่งยืนทางทะเลและระบบนิเวศทางทะเล ดังนี้
    3.1 การลดการจับสัตว์น้ำโดยไม่ตั้งใจ
    3.1.1. มีนโยบายเกี่ยวกับการห้ามตัดครีบฉลาม (Shark finning) และแสดงบนเว็บไซต์ของบริษัทซึ่งเปิดเผยสู่สาธารณะ หากพบว่าเรือประมงและผู้ขายไม่ปฏิบัติตามนโยบายดังกล่าว ทางบริษัทฯ จะหยุดทำธุรกรรมทันทีเป็นระยะเวลา 2 ปี นับจากวันที่สิ้นสุดการสอบสวน
    3.1.2. ไม่ใช้อวนลากหน้าดิน (Large scale pelagic driftnets) ในการทำประมง
    3.1.3 ต้องจัดเก็บปลาทูน่าที่จับได้ทั้งหมด เนื่องจากการทำประมงและปริมาณปลาทูน่าที่จับได้มีผลกระทบกับปริมาณสต๊อกปลาทูน่า ยกเว้นปลาทูน่าที่ไม่เหมาะสมสำหรับการบริโภคของมนุษย์หรือในรอบสุดท้ายของการทำประมงมีพื้นที่จัดเก็บไม่เพียงพอ ไม่ต้องจัดเก็บ
    3.1.4 กัปตันเรือได้รับการอบรมเกี่ยวกับวิธีการทำประมงที่ดี
    3.1.5 เรือประมงอวนล้อม ต้องมีนโยบายการใช้ non-entangling FADs ในการทำประมงเพื่อลดการติดตาข่ายของฉลามหรือเต่าทะเล
    3.2 การเฝ้าระวัง การควบคุมและการติดตาม
    3.2.1 เรือประมงอยู่ในบัญชีรายชื่อขององค์การบริหารจัดการประมงระดับภูมิภาค (RFMOs) และมีหมายเลขทะเบียนเรือที่ออกโดยองค์กรเรือเดินทะเลสากล (International Maritime Organization: IMO)
    3.2.2. เรือประมง Large-scale purse seine ต้องมีผู้สังเกตการณ์หรือเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ขณะทำการประมง ยกเว้นในกรณีทำการประมงในพื้นที่ที่ได้รับการยกเว้นจากองค์การระหว่างประเทศ หรือการเกิดอุบัติการณ์ที่เกิดโดยธรรมชาติและมนุษย์ เช่น น้ำท่วม พายุเฮอริเคน การจลาจล หรือสงคราม
    3.2.3 เรือประมงอวนล้อมต้องไม่มีการขนถ่ายสัตว์น้ำ (Transshipments) ในทะเลหรือทะเลหลวง เขตเศรษฐกิจจำเพาะ ทะเลอาณาเขตหรือน่านน้ำหมู่เกาะ ยกเว้นในกรณีมีการขนถ่ายในทะเลต้องเป็นพื้นที่ที่ได้รับอนุญาตโดยองค์การบริหารจัดการประมงระดับภูมิภาค (RFMOs)

3.3 การทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (Illegal, Unreported and Unregulated Fishing: IUU Fishing)
3.3.1 ไม่ทำธุรกรรมกับเรือประมงหรือเรือขนถ่ายที่อยู่ในบัญชีรายชื่อเรือ IUU ขององค์การบริหารจัดการประมงระดับภูมิภาค (RFMOs)
3.3.2 หากพบว่าสินค้าผลิตมาจากเรือประมงหรือเรือขนถ่ายที่อยู่ในบัญชีรายชื่อเรือ IUU ทางบริษัทฯ จะทำการเรียกคืนสินค้าทั้งหมด
3.4 ProActive Vessel Register
3.4.1 บริษัทฯ จะทำธุรกรรมกับเรือประมง Large scale purse seine ที่อยู่ในบัญชีรายชื่อของ Proactive Vessel Register (PVR) ตั้งแต่วันที่
1 มกราคม 2559 เป็นต้นไป

  1. บริษัทฯ จะดำเนินธุรกิจอย่างโปร่งใสเพื่อให้มั่นใจว่านโยบายและการกระทำของเราสอดคล้องและปฏิบัติตามมาตรฐานสากลในด้านการต่อต้าน IUU และการทำประมงอย่างยั่งยืน
  2. บริษัทฯ มีการคัดเลือกและจัดการเพื่อให้มั่นใจว่าผู้ขายหรือเรือประมงมีแนวทางปฏิบัติที่ดีด้านการประมง หากพบว่าผู้ขายหรือเรือประมงไม่ปฏิบัติตามหรือมีแนวโน้มของปัญหาด้านการประมง IUU ทางบริษัทฯ จะยุติการทำธุรกรรมจนกว่าผู้ขายหรือเรือประมงจะสามารถแก้ไขปัญหาและมีการปฏิบัติที่ทำให้ทางบริษัทฯ เชื่อมั่น เพื่อที่จะดำเนินธุรกิจร่วมกันต่อไป

ด้านแรงงาน

  1. บริษัทฯ ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมของสมาคมอุตสาหกรรมทูน่าไทย (TTIA) เพื่อต่อต้านการใช้แรงงานเด็ก แรงงานบังคับ การค้ามนุษย์และแรงงานทาสในสถานประกอบการ โดยมีการดำเนินการดังนี้
    1.1 มีการทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น หน่วยงานรัฐบาล NGOs และองค์กรระหว่างประเทศ
    1.2 การส่งเสริม การเพิ่มประสิทธิภาพของคณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบการ และกลไกการร้องเรียนในโรงงานแปรรูปสัตว์น้ำ
    1.3 กิจกรรมส่งเสริมการนำแนวปฏิบัติที่ดีด้านแรงงานไปใช้ในสถานประกอบการ
  2. วัตถุดิบหรือสินค้าต้องมาจากผู้ขายหรือเรือประมงที่มีการปฏิบัติที่ดีด้านแรงงาน ถูกต้องตามกฎหมายท้องถิ่น กฎหมายระหว่างประเทศ และหลักการสากล ไม่มีการใช้แรงงานเด็ก แรงงานบังคับ แรงงานที่มาจากการค้ามนุษย์และแรงงานทาสในการทำประมง
  3. บริษัทฯ มีการคัดเลือกและจัดการเพื่อให้มั่นใจว่าผู้ขายหรือเรือประมงมีแนวทางปฏิบัติที่ดีด้านแรงงาน หากพบว่าผู้ขายหรือเรือประมงไม่ปฏิบัติตามหรือมีแนวโน้มของปัญหาการใช้แรงงานเด็ก แรงงานบังคับ แรงงานที่มาจากการค้ามนุษย์และแรงงานทาส ทางบริษัทฯ จะยุติการทำธุรกรรมจนกว่าผู้ขายหรือเรือประมงจะสามารถแก้ไขปัญหา และมีการปฏิบัติที่ทำให้ทางบริษัทฯ เชื่อมั่น เพื่อที่จะดำเนินธุรกิจร่วมกันต่อไป

ด้านการสอบย้อนกลับ

  1. การนำเข้าวัตถุดิบและส่งออกสินค้า จะต้องมีการดำเนินการตามระบบการออกหนังสือการแปรรูปสัตว์น้ำ (PSE) และระบบการตรวจสอบตามมาตรการรัฐเจ้าของท่า (PSM) ภายใต้การเชื่อมโยงคำขอกลาง (FSW) หรือระบบตรวจสอบย้อนกลับสัตว์น้ำนำเข้า PPS (Processing Statement and PSM Link system) ของกรมประมง ประเทศไทย
  2. วัตถุดิบและสินค้าที่มาจากการประมง ฟาร์ม และสถานประกอบการ ต้องสามารถติดตามแหล่งที่มาของวัตถุดิบหรือสินค้าได้ตลอดสายการผลิตตั้งแต่การรับวัตถุดิบ การขนถ่าย การแปรรูป การขนส่ง การจำหน่าย และมีการจัดเก็บบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อให้สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้
  3. ปฏิบัติตามกฎหมายของประเทศคู่ค้าเกี่ยวกับการสอบย้อนกลับ เช่น โครงการการตรวจสอบการนำเข้าอาหารทะเล (Seafood Import Monitoring Program: SIMP) ของ National Oceanic and Atmospheric Administration (NOAA) the United States of America