นโยบายหลักจรรยาบรรณทางการค้าและสังคม

เรามีความมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติตามหลักมนุษยชนเพื่อดำรงไว้ซึ่งศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของพนักงาน รวมถึงการมีรับผิดชอบต่อกิจการทางการค้าและพาณิชย์ของเราเพื่อให้มั่นใจว่ามาตรฐานแรงงานของพนักงานในส่วนของผู้ผลิต / จัดส่งของเรามีแนวปฏิบัติที่สอดคล้องกับหลักมนุษยชนและใกล้เคียงกับมาตรฐานแรงงานในระดับสากล

  1. การจ้างแรงงานอิสระ
    1.1. การไม่จ้างแรงงานที่ถูกบังคับ จองจำ
    1.2. ไม่มีการเรียกเก็บเงินค่าค้ำประกันหรือเอกสารแสดงตนต่อผู้ว่าจ้าง พร้อมทั้งมีอิสระที่จะลาออกจากงานได้ โดยมีการแจ้งเหตุผลล่วงหน้า
  2. การจัดตั้งสมาคมและการเข้าร่วมเจรจาโดยอิสระ
    2.1. แรงงานมีสิทธิ์จัดตั้งหรือเข้าร่วมสหภาพแรงงาน รวมทั้งเข้าร่วมเจรจาได้
    2.2. ผู้ว่าจ้างต้องมีทัศนคติที่เปิดกว้างเกี่ยวกับสหภาพแรงงานและกิจกรรมของสหภาพ
    2.3. ตัวแทนแรงงานต้องไม่ถูกแบ่งแยก ต่อต้านและสามารถดำเนินการตามหน้าที่ของตัวแทนในสถานที่ทำงานได้
    2.4. เมื่อเสรีภาพในการสมาคมและการเข้าร่วมเจรจาถูกจำกัดโดยกฎหมาย ผู้ว่าจ้างต้องอำนวยความสะดวกและไม่กีดกันการจัดตั้งสมาคมหรือการเข้าร่วมเจรจาโดยอิสระ
  3. ความปลอดภัยของสุขภาพและอนามัยในสถานที่ทำงาน
    3.1. จัดให้มีที่ทำงานซึ่งปลอดภัยและถูกสุขอนามัย ลดอุบัติเหตุและการเจ็บป่วยต่อร่างกายในขณะทำงานหรือเกี่ยวกับการทำงานให้ต่ำสุดอย่างสมเหตุสมผล
    3.2. แรงงานควรได้รับการฝึกฝนและดูแลด้านสุขภาพและความปลอดภัยเป็นประจำพร้อมทั้งบันทึกและการปฏิบัติดังกล่าวมีการทำซ้ำสำหรับแรงงานใหม่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงานในตำแหน่งใหม่
    3.3. จัดให้มีน้ำดื่ม ห้องน้ำ สถานที่ขายอาหารและภาชนะ ที่สะอาดถูกหลักอนามัย ให้พนักงานได้ใช้อย่างเหมาะสม
    3.4. จัดให้มีปัจจัยในการปฐมพยาบาล ห้องรักษาพยาบาล เวชภัณฑ์ บุคลากร และยานพาหนะที่พร้อมส่งพนักงานไปยังสถานพยาบาลชั้น  1 ตามที่กฎหมายกำหนด และมีการดูแลอย่างเท่าเทียมตามหลักมนุษยชน
    3.5. สิ่งอำนวยความสะดวก เช่น ที่พัก (หากจัดให้) ต้องสะอาด ปลอดภัยและอยู่ในระดับมาตรฐานขั้นพื้นฐาน
    3.6. ผู้จ้างควรมีการกำกับดูแลให้มีการปฏิบัติที่สอดคล้องตามนโยบาย โดยมีการแต่งตั้งตัวแทนฝ่ายบริหารอาวุโสเป็นผู้รับผิดชอบด้านความปลอดภัยและสุขอนามัย
  4. การใช้แรงงานเด็ก
    4.1. ต้องไม่รับสมัครบุคคลที่อายุต่ำกว่า 18 ปี เข้าทำงาน
    4.2. จัดให้มีนโยบายและแผนให้สอดคล้องกับข้อปฏิบัติของ ILO และ สิทธิเด็กขั้นพื้นฐาน เข่น แรงงานเด็ก (หากมี) ต้องได้รับการปกป้องคุ้มครอง รวมถึงการได้รับศึกษาที่มีคุณภาพ จนหมดสภาพการเป็นเด็กหรือแรงงานเด็ก เป็นต้น
  5. การจ่ายค่าแรงค่าจ้าง
    5.1. ค่าแรงค่าจ้างอย่างน้อยต้องจ่ายตามที่กฎหมายแต่ละประเทศกำหนด และเป็นจำนวนที่เหมาะสมเพียงพอต่อความต้องการพื้นฐานของแรงงานและพึงให้ค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพิ่มเติมตามความเหมาะสม
    5.2. แรงงานทุกคนได้รับเอกสารซึ่งอ่านเข้าใจได้ง่ายและแสดงค่าแรง พร้อมทั้งระยะเวลาการจ่ายค่าแรงค่าจ้างก่อนเข้าทำงาน
    5.3. การหักค่าแรงค่าจ้างของแรงงานอันเกิดจากการผิดวินัยต่างๆ ผู้จ้างกระทำไม่ได้ นอกจากแรงงานได้แสดงความจำนงไว้แล้วเท่านั้น และการทำผิดวินัยต้องมีการบันทึกไว้เป็นหลักฐาน
  6. เวลาทำงาน
    6.1. เวลาทำงานต้องสอดคล้องตามที่กฎหมายแต่ละประเทศกำหนด หรือข้อตกลงร่วมกับแรงงาน และนโยบายหลักจรรยาบรรณทางการค้าและสังคม ข้อ 6.2 ถึง 6.6 โดยถืออันเป็นประโยชน์ที่สุด และรายละเอียดในข้อ 6.2 ถึง 6.6 มีพื้นฐานมาจากมาตรฐานแรงงานสากล
    6.2. เวลาทำงานปกติต้องถูกระบุในสัญญาจ้าง และไม่เกิน 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
    6.3. การทำงานล่วงเวลาต้องเป็นไปด้วยความสมัครใจ โดยมีการบันทึกเวลา ความถี่ และชั่วโมงล่วงเวลาของพนักงานแต่ละคน และแรงงานทั้งหมด โดยเงินการทำล่วงเวลาเป็นอัตราพิเศษซึ่งไม่น้อยกว่า 150% ของค่าจ้างชั่วโมงการทำงานปกติหรือตามที่กฎหมายแต่ละประเทศกำหนด
    6.4. ชั่วโมงการทำงานใน 7 วัน ต้องไม่เกิน 60 ชั่วโมง ยกเว้นได้โดยมีเงื่อนไขที่เป็นไปตามหลักจรรยาบรรณทางการค้าและสังคม
    ข้อ 6.5
    6.5. ชั่วโมงการทำงานใน 7 วัน สามารถเกิน 60 ชั่วโมงได้ โดยมีเงื่อนไขดังนี้
    6.5.1. สอดคล้องตามกฎหมายของประเทศ แต่บริษัทควบคุมให้ไม่เกิน 72 ชั่วโมง/สัปดาห์
    6.5.2. เป็นไปตามข้อตกลงร่วมกับแรงงานส่วนใหญ่
    6.5.3. มีการคุ้มครองสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยของแรงงาน
    6.5.4. แสดงให้เห็นว่าเงื่อนไขข้างต้นมีการนำมาประยุกต์ใช้ในกรณีที่มีอัตราการผลิตสูง อุบัติเหตุและอุบัติการณ์ฉุกเฉิน
    6.6. จัดให้มีวันหยุดพักผ่อน 1 วัน ในทุก 7 วัน หรือหากกฎหมายประเทศอนุญาต สามารถจัดให้มีวันหยุดพักผ่อน 2 วัน ในทุก
    14 วัน ได้
  7. การเลือกปฏิบัติ
    7.1. ผู้จ้างต้องไม่เลือกปฏิบัติในการจ้างงาน การจ่ายค่าชดเชย การฝึกอบรม การเลื่อนตำแหน่ง การให้ออกจากงาน การเกษียณอายุ อันเกี่ยวเนื่องกับเชื้อชาติ สัญชาติ ศาสนา อายุ ความพิการ เพศ สถานะทางครอบครัว สมาชิกสมาคมหรือกลุ่มการเมืองต่างๆ กัน และต้องไม่ขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชนพื้นฐาน
  8. การจ้างงานโดยปกติ
    8.1. การปฏิบัติทุกอย่างจะต้องอยู่บนพื้นฐานของความสัมพันธ์ของการว่าจ้างที่เป็นที่ยอมรับซึ่งสร้างขึ้นจากกฎหมายหรือแนวทางปฏิบัติของแต่ละประเทศ
    8.2.แรงงานต้องได้รับประโยชน์จากกฎหมายแรงงานและประกันสังคม ไม่ว่าจะเป็นเพียงแรงงานใต้สัญญาจ้างการจ้างเหมาแรงงาน แรงงานที่รับงานมาทำที่บ้าน หรือการฝึกงานที่อ้างว่าเป็นการฝึกทักษะ และห้ามการจ้างงานแบบชั่วคราวในสัญญาระยะสั้น
  9. การไม่ละเมิดต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ตามหลักสิทธิมนุษยชน
    9.1. ผู้จ้างต้องไม่มีพฤติกรรมทำร้ายร่างกาย หรือ ล่วงละเมิดทางเพศ หรือ ละเมิดสิทธิส่วนบุคคล หรือ การใช้กิริยา วาจา หยาบคายในการคุกคามหรือทำลายศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของพนักงาน
  10. การใช้แรงงานที่ไม่ได้มาจากการค้ามนุษย์และแรงงานทาส
    10.1. ไม่มีการใช้แรงงานที่มาจากการจัดหา จัดขนส่ง การส่งต่อ การจัดให้อยู่อาศัย หรือการรับไว้ด้วยวิธีการขู่เข็ญ การใช้กำลัง หรือการบีบบังคับในรูปแบบการลักพาตัว การฉ้อโกง การหลอกลวง การใช้อำนาจโดยมิชอบ หรือมีการให้ การรับเงินหรือผลประโยชน์เพื่อให้ได้มาซึ่งความยินยอมของบุคคลผู้มีอำนาจควบคุมบุคคลอื่นเพื่อความมุ่งประสงค์ในการแสวงหาผลประโยชน์
    10.2. ไม่มีการบังคับใช้แรงงานหรือการเอาคนมาเป็นทาส หรือการกระทำต่อแรงงานเยี่ยงทาส การทำให้ตกอยู่ใต้บังคับหรือการตัดอวัยวะออกจากร่างกาย
    10.3. ไม่สนับสนุนการใช้แรงงานที่มาจากการค้ามนุษย์และแรงงานทาส
  11. ความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม
    11.1. ต้องปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับด้านสิ่งแวดล้อมในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ
    11.2. มีใบอนุญาตและแผนในการกำจัดของเสีย เช่น การปล่อยอากาศเสีย น้ำเสีย กากอุตสาหกรรม กากสารพิษและการกำจัดของเสียอันตราย
    11.3. จัดให้มีการดำเนินการเพื่อลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสังเกตการณ์ด้านผลกระทบสิ่งแวดล้อมในส่วนที่เป็นไปได้ผ่านการประหยัดพลังงาน การลดและการรีไซเคิล
  12. การดำเนินธุรกิจอย่างมีจริยธรรมและความรับผิดชอบต่อสังคม
    12.1. ต้องปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับทั้งหมดที่บังคับใช้เกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจอย่างมีจริยธรรม
    12.2. มีนโยบายในการดำเนินธุรกิจอย่างมีจริยธรรม ห้ามมิให้มีการติดสินบน การคอร์รัปชั่น และมีการสื่อสารให้ผู้เกี่ยวข้องได้ทราบและปฏิบัติตาม
    12.3. จัดให้มีการดำเนินกิจกรรมที่สนับสนุนกิจการด้านต่างๆ เช่น ด้านชีวิตความเป็นอยู่ ด้านการศึกษา ด้านการปรับปรุงพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม ของชุมชนและสังคมอย่างต่อเนื่อง
  13. การร้องเรียนร้องทุกข์
    หากพบการละเมิดในหลักปฏิบัติต่างๆ ของ Seavalue คุณสามารถรายงานการละเมิดดังกล่าว เป็นภาษาท้องถิ่น โดยไม่ต้องเปิดเผยชื่อ ตามวิธีการติดต่อที่ได้ระบุไว้ด้านล่าง
    1) จดหมาย : จ่าหน้าซองถึงผู้จัดการฝ่ายบุคคล บริษัท ซี แวลู จำกัด(มหาชน) ตู้ปณ. 42 ปจ.สมุทรสาคร อ.เมือง จ.สมุทรสาคร 74000
    2) ทางโทรศัพท์หรือส่งข้อความที่หมายเลข 089-7972858 (หมายเลขส่วนตัวของผู้จัดการฝ่ายบุคคลตรวจสอบ)
    3) ทาง e-mail ที่ wanna.serm@gmail.com (e-mail ส่วนตัวของผู้จัดการฝ่ายบุคคลตรวจสอบ)
    4) กล่องรับความคิดเห็นที่บริษัทจัดเตรียมไว้ (เปิดโดยคณะกรรมการตรวจสอบที่กำหนดไว้)