มอบผลิตภัณฑ์ 1.5 ล้าน ต่อสู้ภัยโควิด-19

เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2564 คุณอมรพันธุ์ อร่ามวัฒนานนท์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บมจ.ซีแวลู พร้อมคณะ ได้มอบผลิตภัณฑ์อาหารกระป๋องในเครือกลุ่มซีแวลู จำนวน 1.5 ล้านบาท โดยมีรองผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร( คุณธีรพัฒน์ คัชมาตย์ , คุณสุรศักดิ์ ผลยังส่ง ) และผู้บริหารจังหวัดสมุทรสาครเป็นตัวแทนรับมอบ ซึ่งการส่งมอบผลิตภัณฑ์ในครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของการให้ความสำคัญในวิกฤติการแพร่ระบาด เพราะมีผู้คนมากมายที่ได้รับผลกระทบ ทำให้ไม่สามารถดำเนินชีวิตในแบบปกติได้ ผลิตภัณฑ์ จำนวน 1.5 ล้านบาท ส่งมอบเพื่อให้ศูนย์รับบริจาคเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 จังหวัดสมุทรสาคร นำไปมอบให้กับเจ้าหน้าที่ บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ประชาชน แรงงานข้ามชาติ ที่ได้รับความเดือดร้อนและผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19

อาหารกลางวัน แบ่งปัน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ที่กลับมาระบาดในรอบที่สองส่งผลให้คณะเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องต้องทำงานกันอย่างหนักเพื่อให้สถานการ์นั้นกลับมาคลี่คลายได้โดยไว้ โดยสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสาครได้ผนึกกำลังอย่างเต็มที่ในการเข้าช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบในครั้งนี้ ซึ่งหลังจากที่สถานการณ์ได้เป็นที่กังวลของให้ฝ่าย ทำให้การดูแลควบคุมนั้นต้องขอความร่วมมือจากหน่าวยงานภาคเอกชนให้เข้ามาร่วมมือกันแก้ไข ซึ่งได้การตอบรับเป็นอย่างดี โดยหลายฝ่ายได้เข้าช่วยเหลือ และสนับสนุนกิจกรรมต่างๆของทางภาครัฐ มาโดยตลอด  และเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2564 บริษัท ยูนิคอร์ด จำกัด (มหาชน)  โดย คุณวรรณา เสริมสุวรรณสุข ผู้จัดการฝ่ายบุคคล คุณณัฐวี ดีเสมอ ผู้จัดการฝ่ายธุรการ พร้อมคณะ  ได้เป็นผู้แทนบริษัทฯ สนับสนุนอาหารกลางวันเพื่อมอบให้กับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจังหวัดสมุทรสาคร ระหว่างวันที่ 16 ม.ค.-28 ก.พ.2564 มูลค่า 5.5 แสนบาท (หรือจนกว่าสถานการณ์โควิด-19 ในจังหวัดจะดีขึ้น) โดยมี คุณศิริลักษณ์ มณีประเสริฐ นักวิชาการสาธารณสุขเชี่ยวชาญ (ด้านส่งเสริมพัฒนา) เป็นผู้แทนรับมอบ เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจังหวัดสมุทรสาครต่อไป

จรรยาบรรณว่าด้วยการประมงภายในประเทศ

บริษัทในเครือ ซี แวลู (บริษัทยูนิคอร์ด จำกัด (มหาชน) และบริษัทไอ.เอส.เอ. แวลู จำกัด) ตระหนักถึงการทำธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม มุ่งมั่นที่จะส่งเสริมและสนับสนุนการอนุรักษ์ทรัพยากรและระบบนิเวศทางทะเล ตลอดจนมีการดำเนินธุรกิจโดยยึดถือหลักคุณธรรม ความถูกต้อง โปร่งใส เคารพต่อสิทธิมนุษยชนสากลและหลักการด้านแรงงาน ดังนั้น ทางบริษัทฯ จึงได้จัดทำจรรยาบรรณว่าด้วยการประมงภายในประเทศฉบับนี้ และมุ่งหวังที่จะให้คู่ค้าตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทานรับทราบ ยินยอมที่จะปฏิบัติตามเพื่อให้เกิดความยั่งยืนทั้งในปัจจุบันและอนาคต แนวทางการปฏิบัติด้านการประมงและความยั่งยืน1.บริษัทฯ เป็นสมาชิกของ สมาคมอุตสาหกรรมทูน่าไทย (Thai Tuna Industry Association : TTIA) ซึ่งมีความมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมและสนับสนุนให้สมาชิกมีการดำเนินธุรกิจอย่างถูกต้อง ปฏิบัติตามพระราชกำหนดการประมง เพื่อเป็นการป้องกัน ยับยั้ง และขจัดการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (Illegal, Unreported and Unregulated Fishing: IUU Fishing) โดยมีหลักการดังนี้1.1 มีการรวบรวมหลักการทางวิชาการและข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่ได้รับการยืนยันจากองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) กรมประมงของประเทศไทย หรือสหภาพยุโรป เพื่อที่จะนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการปรับปรุงแก้ไขการจัดการแหล่งทรัพยากรทางทะเลของประเทศไทย1.2 มีการดำเนินงานภายใต้กฎระเบียบขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) และอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 (UNCLOS […]

จรรยาบรรณว่าด้วยการประมงสากล

บริษัทในเครือ ซี แวลู (บริษัทยูนิคอร์ด จำกัด (มหาชน) และบริษัทไอ.เอส.เอ. แวลู จำกัด) ตระหนักถึงการทำธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม มุ่งมั่นที่จะส่งเสริมและสนับสนุนการอนุรักษ์ทรัพยากรและระบบนิเวศทางทะเล ตลอดจนมีการดำเนินธุรกิจโดยยึดถือหลักคุณธรรม ความถูกต้อง โปร่งใส เคารพต่อสิทธิมนุษยชนสากลและหลักการด้านแรงงาน ดังนั้น ทางบริษัทฯ จึงได้จัดทำจรรยาบรรณว่าด้วยการประมงสากลฉบับนี้ และมุ่งหวังที่จะให้คู่ค้าตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทานได้รับทราบ ยินยอมที่จะปฏิบัติตามเพื่อให้เกิดความยั่งยืนทั้งในปัจจุบันและอนาคต แนวทางการปฏิบัติด้านการประมงและความยั่งยืน บริษัทฯ เป็นสมาชิกของ สมาคมอุตสาหกรรมทูน่าไทย (Thai Tuna Industry Association : TTIA) ซึ่งมีความมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมและสนับสนุนให้สมาชิกมีการดำเนินธุรกิจอย่างถูกต้อง ปฏิบัติตามพระราชกำหนดการประมง กฎหมายระหว่างประเทศ และหลักการสากลต่างๆ ตลอดจนร่วมมือกับองค์กรระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องและเป็นที่ยอมรับด้านอุตสาหกรรมประมง เช่น องค์การบริหารจัดการประมงระดับภูมิภาค (Regional Fishery Management Organization : RFMOs) เพื่อเป็นการป้องกัน ยับยั้ง และขจัดการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (Illegal, Unreported and Unregulated Fishing: IUU Fishing) […]

นโยบายหลักจรรยาบรรณทางการค้าและสังคม

เรามีความมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติตามหลักมนุษยชนเพื่อดำรงไว้ซึ่งศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของพนักงาน รวมถึงการมีรับผิดชอบต่อกิจการทางการค้าและพาณิชย์ของเราเพื่อให้มั่นใจว่ามาตรฐานแรงงานของพนักงานในส่วนของผู้ผลิต / จัดส่งของเรามีแนวปฏิบัติที่สอดคล้องกับหลักมนุษยชนและใกล้เคียงกับมาตรฐานแรงงานในระดับสากล การจ้างแรงงานอิสระ1.1. การไม่จ้างแรงงานที่ถูกบังคับ จองจำ1.2. ไม่มีการเรียกเก็บเงินค่าค้ำประกันหรือเอกสารแสดงตนต่อผู้ว่าจ้าง พร้อมทั้งมีอิสระที่จะลาออกจากงานได้ โดยมีการแจ้งเหตุผลล่วงหน้า การจัดตั้งสมาคมและการเข้าร่วมเจรจาโดยอิสระ2.1. แรงงานมีสิทธิ์จัดตั้งหรือเข้าร่วมสหภาพแรงงาน รวมทั้งเข้าร่วมเจรจาได้2.2. ผู้ว่าจ้างต้องมีทัศนคติที่เปิดกว้างเกี่ยวกับสหภาพแรงงานและกิจกรรมของสหภาพ2.3. ตัวแทนแรงงานต้องไม่ถูกแบ่งแยก ต่อต้านและสามารถดำเนินการตามหน้าที่ของตัวแทนในสถานที่ทำงานได้2.4. เมื่อเสรีภาพในการสมาคมและการเข้าร่วมเจรจาถูกจำกัดโดยกฎหมาย ผู้ว่าจ้างต้องอำนวยความสะดวกและไม่กีดกันการจัดตั้งสมาคมหรือการเข้าร่วมเจรจาโดยอิสระ ความปลอดภัยของสุขภาพและอนามัยในสถานที่ทำงาน3.1. จัดให้มีที่ทำงานซึ่งปลอดภัยและถูกสุขอนามัย ลดอุบัติเหตุและการเจ็บป่วยต่อร่างกายในขณะทำงานหรือเกี่ยวกับการทำงานให้ต่ำสุดอย่างสมเหตุสมผล3.2. แรงงานควรได้รับการฝึกฝนและดูแลด้านสุขภาพและความปลอดภัยเป็นประจำพร้อมทั้งบันทึกและการปฏิบัติดังกล่าวมีการทำซ้ำสำหรับแรงงานใหม่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงานในตำแหน่งใหม่3.3. จัดให้มีน้ำดื่ม ห้องน้ำ สถานที่ขายอาหารและภาชนะ ที่สะอาดถูกหลักอนามัย ให้พนักงานได้ใช้อย่างเหมาะสม3.4. จัดให้มีปัจจัยในการปฐมพยาบาล ห้องรักษาพยาบาล เวชภัณฑ์ บุคลากร และยานพาหนะที่พร้อมส่งพนักงานไปยังสถานพยาบาลชั้น  1 ตามที่กฎหมายกำหนด และมีการดูแลอย่างเท่าเทียมตามหลักมนุษยชน3.5. สิ่งอำนวยความสะดวก เช่น ที่พัก (หากจัดให้) ต้องสะอาด ปลอดภัยและอยู่ในระดับมาตรฐานขั้นพื้นฐาน3.6. ผู้จ้างควรมีการกำกับดูแลให้มีการปฏิบัติที่สอดคล้องตามนโยบาย โดยมีการแต่งตั้งตัวแทนฝ่ายบริหารอาวุโสเป็นผู้รับผิดชอบด้านความปลอดภัยและสุขอนามัย การใช้แรงงานเด็ก4.1. ต้องไม่รับสมัครบุคคลที่อายุต่ำกว่า 18 ปี เข้าทำงาน4.2. จัดให้มีนโยบายและแผนให้สอดคล้องกับข้อปฏิบัติของ ILO และ สิทธิเด็กขั้นพื้นฐาน เข่น แรงงานเด็ก (หากมี) […]

มอบผลิตภัณฑ์ 1.5 ล้าน ต่อสู้ภัยโควิด-19

เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2564 คุณอมรพันธุ์ อร่ามวัฒนานนท์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บมจ.ซีแวลู พร้อมคณะ ได้มอบผลิตภัณฑ์อาหารกระป๋องในเครือกลุ่มซีแวลู จำนวน 1.5 ล้านบาท โดยมีรองผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร ( คุณธีรพัฒน์ คัชมาตย์ , คุณสุรศักดิ์ ผลยังส่ง ) และผู้บริหารจังหวัดสมุทรสาครเป็นตัวแทนรับมอบ ซึ่งการส่งมอบผลิตภัณฑ์ในครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของการให้ความสำคัญในวิกฤติการแพร่ระบาด เพราะมีผู้คนมากมายที่ได้รับผลกระทบ ทำให้ไม่สามารถดำเนินชีวิตในแบบปกติได้ ผลิตภัณฑ์ จำนวน 1.5 ล้านบาท ส่งมอบเพื่อให้ศูนย์รับบริจาคเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 จังหวัดสมุทรสาคร นำไปมอบให้กับเจ้าหน้าที่ บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ประชาชน แรงงานข้ามชาติ ที่ได้รับความเดือดร้อนและผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19